วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบทดสอบ

1 ) แก๊ส X ปริมาตร และความดัน ถ้าลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่ง แก๊สจะมีความดันเท่ากับ แต่ถ้าลดปริมาตรลงเหลือ ของปริมาตร แก๊สจะมีความดันเท่ากับ กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดที่อุณหภูมิ และมวลของแก๊สคงที่ ความสัมพันธ์ระหว่าง และ ในข้อใดถูกต้อง






2 ) ในการทดลองการแพร่ของแก๊ส A และแก๊ส B โดยให้ทำปฏิกิริยากันในหลอดแก้ว ดังรูป 
ปล่อยแก๊สทั้งสองเข้าไปในหลอดแก้วพร้อมๆ กัน ปรากฏว่าได้สาร C ดังสมการ เมื่อวัดตำแหน่งของสาร C พบว่าเกิดอยู่ใกล้ทางเข้าแก๊ส B มากกว่า แก๊ส A ข้อใดผิด

1.แก๊ส A แพร่ได้เร็วกว่าแก๊ส B
2.แก๊ส B มีมวลโมเลกุลสูงกว่าแก๊ส A
3.แก๊ส A และแก๊ส B มีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน
4.โมเลกุลของแก๊ส A เคลื่อนที่เข้าหาโมเลกุลของแก๊ส B โดยไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง


3 ) การเปรียบเทียบสมบัติของแก๊ส He และ ในข้อใดถูก

1.เมื่อมวลเท่ากัน จะมีปริมาตรเท่ากันที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
2.ที่อุณหภูมิเดียวกัน เมื่อมวลและปริมาตรเท่ากัน แก็ส จะมีความดันมากที่สุด
3.ที่อุณหภูมิเดียวกัน และความดันเดียวกัน แก๊สทั้ง 3 จะมีอัตราการแพร่เท่ากัน
4.เมื่อนำแก๊สผสมทั้ง 3 มาลดอุณหภูมิ แก๊ส จะควบแน่นเป็นลำดับสุดท้าย





4 ) กำหนด สภาพการละลายได้ของสารเป็นกรัมในน้ำ 100 g ข้อใด ถูก

1.เมื่อนำสารละลายอิ่มตัวของ B และ C ที่ 25 อย่างละขวดไปไว้ในตู้เย็น จะได้ผลึกของ B
2.ที่อุณหภูมิ 25 สาร A และ B เป็นของแข็ง ส่วน C และ D เป็นแก๊ส
3.ที่อุณหภูมิ 100 สาร A 98g ละลายได้ในน้ำ 100g
4.แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสาร D > B > A > C

5 ) จากแผนภาพ ข้อใดสรุปใดถูก

ก. พลังงานก่อกัมมันต์ที่มีผลต่ออัตราเร็วของปฏิกิริยา คือ
ข. การเติมตัวเร่งปฏิกิริยาลงไป จะทำให้ได้ค่า ลดลง
ค. การเติมตัวเร่งปฏิกิริยา X ลงไป จะได้ผลิตภัณฑ์สุดท้าย เป็นสารประกอบ CX
ง. หลังการเติมตัวเร่งปฏิกิริยา X ลงไป ปฏิกิริยาคายพลังงาน 90

1.ก และ ข
2.ข และ ค
3.ก และ ง
4.ข และ ง

6 ) แก๊สผสมระหว่าง A B และ C ทำปฏิกิริยากันในภาชนะปิด ได้สาร D เมื่อทำการวิเคราะห์มวลของ A B C และ D ที่เวลาต่างๆ ได้ผลดังนี้  
สมการแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น และปริมาณของ A B C และ D เมื่อเวลาผ่านไป 5 นาทีควรเป็นข้อใด

อ่านเพิ่มเติม 




วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ (อังกฤษmetalloids) เป็นธาตุที่มีองค์ประกอบทางเคมีซึ่งมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างสมบัติของโลหะกับอโลหะ โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือข้อตกลงที่แน่นอนของการเป็นธาตุกึ่งโลหะ
โดยปกติทั่วไปแล้วธาตุกึ่งโลหะ ประกอบด้วย 6 ธาตุ คือ โบรอนซิลิคอนเจอร์เมเนียมสารหนูพลวงและเทลลูเรียม แต่บางครั้งการจำแนกธาตุกึ่งโลหะได้รวม คาร์บอนอะลูมิเนียมซีลีเนียม,พอโลเนียมและแอสทาทีนไว้ด้วย ในตารางธาตุทั่วไปนั้นสามารถพบธาตุกึ่งโลหะได้ที่บริเวณเส้นทแยงมุมของ บล็อก-p โดยเริ่มจากโบรอนไปจนถึงแอสทาทีน ในบางตารางธาตุที่ประกอบด้วยเส้นแบ่งระหว่างโลหะกับอโลหะและธาตุกึ่งโลหะนั้นจะอยู่ติดกับเส้นแบ่งนี้ อ่านเพิ่มเติม 

ธาตุแทรนซิชัน

สมบัติของธาตุแทรนซิชัน 
               นักเคมีจัดธาตุแทรนซิชันไว้ในกลุ่มของธาตุที่เป็นโลหะ แต่ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกับธาตุหมู่ IA  IIA  และ IIIA  เพราะเหตุใดจึงจัดธาตุแทรนซิชันไว้อีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อตอบคำถามนี้ให้ศึกษาสมบัติของธาตุแทรนซิชันเปรียบเทียบกับสมบัติของธาตุหมู่ IA และ IIA ที่อยู่ในคาบเดียวกัน 
  พบว่าธาตุแทรนซิชันในคาบที่  4  มีสมบัติหลายประการคล้ายกับโลหะโพแทสเซียมและแคลเซียม เช่น พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 และอิเล็กโทรเนกาติวิตีมีค่าต่ำ แต่จุดหลอมเหลว  จุดเดือด  และความหนาแน่นมีค่าสูง และสูงมากกว่าหมู่ IA และหมู่ IIA ธาตุเทรนซิชัน จึงควรเป็นโลหะ แต่ธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 มีสมบัติบางประการที่แตกต่างจากโลหะโพแทสเซียมและแคลเซียมคือ มีขนาดอะตอมใกล้เคียงกันภายในกลุ่มของธาตุแทรนซิชันเอง แต่มีขนาดเล็กกว่าโลหะโพแทสเซียมและแคลเซียม นักเรียนคิดว่าเพร อ่านเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม



              อะลูมิเนียม (Al) พบมากในเปลือกโลกประมาณ 7.5% โดยมวล ในรูปของสารประกอบ
เช่น บอกไซต์ (Al2O3 •2H2O) ไครโอไลต์ (Na3 AlF6) โลหะอะลูมิเนียมเตรียมได้จากการหลอมเหลวแร่บอกไซต์แล้วแยกด้วยกระแสไฟฟ้าจะได้โลหะอะลูมิเนียมที่แคโทด โลหะอะลูมิเนียมมีสีเงิน มีความหนาแน่นต่ำ เหนียวและแข็ง ดัดโค้งงอได้ ทุบให้เป็นแผ่นหรือดึงเป็นเส้นได้ นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดีมาก
             สารประกอบออกไซต์ของอะลูมิเนียมคือ Al2 O3 มีจุดหลอมเหลวสูงมาก ทนความร้อนสูง ละลายได้ทั้งกรดและเบส ออกไซต์ที่เกิดในธรรมชาติเรียกว่า คอรันดัม มีความแข็งมากและมีหลายสี จึงนิยมใช้ทำเครื่องประดับ
สารประกอบซัลเฟตของอะลูมิเนียมที่ตกผลึกร่วมกับโลหะแอลคาไลน์จะได้ผลึกของอะลัม (Alum) ชนิดหนึ่งซึ่งมีสูตรทั่วไปคือ M 2SO4•Al2 (SO4 ) • 24H2 O หรือ Mal(SO 4)2•12H2 O โดย M ในที่นี้คือไออนบวกของโลหะ เช่น Na? หรือ K ? ส่วนสารส้มที่ใช้ตามบ้านเรือนคือสารส้มโพแทส
มีสูตรKAl(SO4 )2• 12H2 O มีลักษณะเป็นผลึกใส ใช้มากในกระบวนการผลิตกระดาษและกระบวนการทำน้ำประปา
           อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรม ใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องครัว ของใช้ในบ้าน ห่ออาหาร และห่อของใช้ ทำโลหะเจือหลายชนิดที่นำไปเป็นส่วนประกอบของเครื่องบิน เรือ รถไฟ และรถยนต์ อ่านเพิ่มเติม

การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

        การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุมาทำนายตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุได้จากตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 ธาตุตัวอย่าง X มีสมบัติที่ปรากฏดังนี้
สมบัติ
ลักษณะที่ปรากฏ
สถานะ
เป็นของแข็ง
สีผิว
ผิวเป็นมันวาว
การนำไฟฟ้า
นำไฟฟ้าได้
การละลายในน้ำ
ไม่ละลายน้ำ
การทำปฏิกิริยากับCl2
เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง มีเปลวไฟและควันสีขาวเมื่อเย็นจะได้ของแข็งสีขาว
การละลายในน้ำของสาร
สีขาวที่เกิดขึ้น
ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลายมีสมบัติเป็นกรด

แนวคิด จากสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ X สามารถทำนายได้ว่า
ธาตุ X มีสมบัติคล้ายโลหะคือ มีผิวเป็นมันวาว นำไฟฟ้าได้ และไม่ละลายน้ำ ธาตุ X ไม่ควรเป็นธาตุหมู่ IA หรือหมู่IIA
เมื่อธาตุ X ทำปฏิกิริยากับ Cl2 ได้สารประกอบคลอไรด์เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด แสดงว่าเป็นสารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ
จากข้อมูลทั้งหมดทำนายได้ว่าธาตุ X มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ X จึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ และควรอยู่ในหมู่IVA ทางตอนล่างของตารางธาตุ ในทางกลับกัน ถ้าทราบตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุจะสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้ ดังตัวอย่าง 2
ตัวอย่างที่ 2 ธาตุ Y เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 19 ธาตุ Y ควรจะมีสมบัติเป็นอย่างไร อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกัมมันตรังสี

        ในปี ค.ศ. 1896 อองตวน อองรี เบ็กเคอเรล นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส พบว่า เมื่อเก็บแผ่นฟิล์มถ่ายรูปที่หุ้มด้วยกระดาษสีดำไว้กับสารประกอบของยูเรเนียม ฟิล์มจะมีลักษณะเหมือนถูกแสง และเมื่อทำการทดลองกับสารประกอบของยูเรเนียมชนิดอื่นๆ ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีรังสีแผ่ออกมาจากธาตุยูเรเนียม ดังภาพ
          ต่อมา ปีแอร์ และมารี กูรี ได้ค้นพบว่า ธาตุยูพอโลเนียม เรเดียม และทอเรียม ก็สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า
ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 82
            กัมมันตภาพรังสี หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว มี 3 ชนิด คือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
ในนิวเคลียสของธาตุประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อ่านเพิ่มเติม

ธาตุกึ่งโลหะ

              ขั้นบันไดปรากฏอยู่ ธาตุทางขวาเส้นทึบจัดเป็นกลุ่มอโลหะ ส่วนทางด้านซ้ายจัดเป็นกลุ่มโลหะ สำหรับธาตุที่อยู่ชิดเส้นแบ่งนี้จะเรียกว่า ธาตุกึ่งโลหะ มีดังนี้

1.โบรอน (อังกฤษ:Boron) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ B และเลขอะตอม 5 เป็นธาตุที่มี วาเลนซ์ 3 และเป็นกึ่งโลหะ โบรอนปรากฏมากในแร่บอแรกซ์ โบรอนมี 2 อัญรูปโดยที่ amorphous boron เป็นผงสีน้ำตาล และ metallic boron มีสีดำ รูปแบบที่เป็นโลหะมีความแข็งมาก (9.3 บนมาตราของโมห์ส) แต่นำไฟฟ้าไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง ไม่ปรากฏแบบอิสระในธรรมชาติ เป็นสารประกอบออกไซด์และเฮไลด์ เป็นพันธะโควาเลนท์ เช่น BF3

การนำไปใช้ประโยชน์
          ไดโบรอนไตรออกไซด์ (B2O3) นำไปใช้เป็นส่วนผสมของBorocilicated glass เป็นแก้วที่ใช้ในการทำเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ บีกเกอร์ หลอดทดลอง ขวดรูปชมพู่ ขวดก้นแบน ขวดก้นกลม เป็นต้น
โซเดียมเตตระโบเรต เดคะไฮเดรต (Na2B4O7 . 10H2O) (บอแรกซ์) ใช้การทำทองรูปพรรณ เรียกขานกันในหมู่ช่างทองว่า "น้ำประสานทอง

2.ซิลิคอน (อังกฤษ: Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Siและเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียวเฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้วซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระ อ่านเพิ่มเติม